วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยความจำภายนอก





หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary storage หรือ Auxiliary storage หรือ External memory) ในบางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยความจำภายนอก หมายถึง สื่อในการเก็บบันทึกข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลและโปรแกรม หรืองานต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ไว้ได้อย่างถาวร ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรองนี้จะไม่หายไปเมื่อไฟฟ้าดับเหมือนหน่วยความจำหลัก ข้อดีของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง คือ มีพื้นที่ ขนาดใหญ่ ความคุ้มค่าของราคาต่อหน่วยพื้นที่ถูกกว่า ความเชื่อถือได้สูงและมีความสะดวก ในการใช้งานและการเคลื่อนย้าย หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยความจำภายนอกนี้ในปัจจุบันถือเรื่องจำเป็นจะต้องมีและเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ติดมากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้แก่ ดิสก์เก็ตไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดร์ฟ เป็นต้น ถ้าจะแบ่งตามเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มได้แก่ หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก (Magnetic storage) หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแสง และหน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแบบอื่นๆ ได้แก่ หน่วยความจำแฟลซ เป็นต้น ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงหน่วยเก็บข้อมูลภายนอกที่สำคัญ หลักการทำงานและการวัดประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูล
หน่วยความจำภายนอกที่ใช้บันทึกข้อมูลสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของเทคโนโลยีที่ใช้ มีอยู่ 3 ประเภทคือ ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กและแสง หน่วยความจำที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก ได้แก่ จานแม่เหล็กชนิดอ่อน จานแม่เหล็กชนิดแข็งและเทปแม่เหล็ก หน่วยความจำที่ใช้เทคโนโลยีแสง ได้แก่ ซีดีรอม เอ็มโอดิสก์ ดีวีดี เป็นต้น
สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก ทำงานโดยการเหนี่ยวนำให้สารแม่เหล็กที่เคลือบบนแผ่นหรือเทปแม่เหล็กเกิดการเรียงตัวของสารแม่เหล็กตามข้อมูลที่บันทึก การนำจานแม่เหล็กมาใช้งานจะต้องผ่านกระบวนการฟอร์แมต ซึ่งเป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์เพื่อให้หัวอ่านเขียนสามารถอ่านเขียนได้ถูกตำแหน่ง ในขณะสร้างแทร็กและเซกเตอร์ระบบปฏิบัติการจะสร้าง Boot Sector, ตาราง FAT, Root Directory และส่วนเก็บข้อมูลไปด้วย จานแม่เหล็กชนิดแข็งหรือฮาร์ดดิสก์หลาย ๆ ตัวมาต่อกันเป็นอาเรย์ เรียกว่า RAID (Redundant array of independent disks) ซึ่งจะทำให้ระบบปฏิบัติการมองเห็นดิสก์ทั้งหมดมีความจุรวมกันเป็นดิสก์ตัวเดียว ส่วนเทปแม่เหล็กก็เป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้สำหรับงานสำรองข้อมูล เพราะราคาถูกความจุสูง ถึงแม้ว่าจะเป็นสื่อที่เข้าถึงข้อมูลแบบตามลำดับและทำงานช้าก็ตามซึ่งไม่ใช่ปัญหาสำหรับงานสำรองข้อมูล
สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแสงการอ่านข้อมูลโดยใช้แสงเลเซอร์ความเข้มต่ำ ยิงไปบนหลุม (Pit) หรือที่ราบ (Land) ที่ถูกบันทึกตามค่าของข้อมูลไว้บนแผ่นซีดี แสงเลเซอร์จะสะท้อนกลับเมื่อกระทบ Land และจะกระจายเมื่อกระทบกับ Pit แสงที่สะท้อนกลับจะถูกแปรค่าด้วยตัวเซนเซอร์ต่อไป สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแสง แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ ซีดี (CD) และ ดีวีดี (DVD) ทั้งสองกลุ่มก็ยังแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ อีกหลายประเภท





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น